วันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

จะมีสักกี่ครั้ง ที่เราจะรู้สึกถึงความรักที่เต็มไปด้วยความสุข

จะมีสักกี่ครั้ง ที่เราจะรู้สึกถึงความรักที่เต็มไปด้วยความสุข
แต่ก็แฝงไปด้วยความทุกข์ สุขเพราะได้รักใครคนหนึ่งอย่างสุดหัวใจ
และได้คิดถึงเขาทุกลมหายใจ แต่ในความรักที่เต็มไปด้วยที่สุดนั้น
ก็มักจะทำให้เราเจ็บปวด คุณเคยร้องไห้เพราะรักใครสุดหัวใจ
และเคยต้องร้องไห้เพราะคิดถึงใครคนหนึ่ง อย่างที่ไม่รู้ว่าเขาคนนั้น
จะคิดถึงเราบ้างหรือเปล่า เราไม่สามารถหาคำตอบได้
แต่ความรัก มันจะมีคำตอบอยู่ในตัวของมัน
หากเรารักอย่างมีสติ ลองมองย้อนกลับมาดูตัวเองบ้าง
ค้นหาใจของตัวเองบ้าง อย่าให้ไปอยู่ที่ใครคนนึงจนหมดทั้งหัวใจ
จงเก็บไว้สำหรับตัวเองสัก 1 ห้อง เก็บไว้เผื่อวันข้างหน้า
ที่เราไม่รู้ว่ามันจะต้องเตรียมพื้นที่ ไว้สำหรับ 3 ห้องที่เหลือต้องกับคืนมาอย่างบอบช้ำ
เก็บความคิดถึงไว้คิดถึงตัวเองบ้าง หากเรามัวคิดถึงว่า
เขาทำอะไรอยู่ กินอะไรหรือยัง วันนี้เขาจะไปไหน
ลองเปลี่ยนมาคิดถึงว่า วันนี้เราจะทำอะไร จะกินอะไรดี และวันนี้เราจะไปไหน
เพื่อลดความเจ็บปวดของความคิดถึง

วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553


นักศึกษาโปรแกรม สังคมศึกษา

                        แนะนำตัวเอง


ดิฉันชื่อ นางสาวมาฟูเซ๊าะ นามสกุล สูแป
ชื่อเล่น นูรี
บิดาชื่อ นายอับดุลกอเดร์ สูแป
มารดาชื่อ นางคอลีเยาะ สูแป
มีพี่น้องทั้งหมด 5 คน เป็นบุตรคนที่ 5
ภูมิลำเนา 21/1 หมู่ที่3 ตำบลเปาะเส้ง อำเภอเมือง
จังหวัดยะลา 95000



                                       ประวัติการศึกษา  

จบประธมศึกษาปีที่1-6โรงเรียนบ้านไทรงาม ตำบลเปาะเส้ง อำเภอเมือง จังหวัดยะลา
จบมัธยมตอนต้นโรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ อำเภอเมือง จังหวัดยะลา

จบมัธยมตอนปลายโรงเรียนแสงธรรมวิทยา ถนนโต๊ะลือเบ ตำบลสุไหงโกลก อำเภอสุไหงโกลก

จังหวัดนราธิวาส

ปัจจุบันเรียนอยู่ตอนนี้มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช ปี3

พักอยู่หอนักศึกษา หอ B (นภาพิลัย)


คติพจน์ประจำใจ : 
       อย่าถ้อกับอุปสรรคที่พบเจอ พัฒนาตนให้ก้าวไกล

ปรัชญา : 
       บิดามารดาเป็นผู้ให้กำเนิด ครูเป็นผู้ให้ปัญญา

วันพุธที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่3

ให้นักศึกษาไปศึกษาผู้นำทางวิชาการจากเอกสาร, Internet, การสัมภาษณ์ ในประเด็นดังนี้
1. ประวัติของผู้นำทางวิชาการที่สำคัญ
2. ผลงานของนักวิชาการที่ปรากฏ
3. เราชอบผู้นำทางวิชาการในประเด็นอะไร
4. มีรูปถ่ายสถานที่ประกอบ 


นายสุเทพ เทือกสุบรรณ


นายสุเทพ เทือกสุบรรณ
1. ประวัติของผู้นำทางวิชาการที่สำคัญ
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี"นายสุเทพ เทือกสุบรรณ" เกิดวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2492 เป็นบุตรนายจรัส เทือกสุบรรณกำนันตำบลท่าสะท้อน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี และนางละม้าย เทือกสุบรรณ มีพี่น้องท้องเดียวกัน 7 คนคือ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ นางศิริรัตน์กับนางรัชนี (เป็นคู่แฝด) นายเชน เทือกสุบรรณ นางจุฑาภรณ์ วงศ์สุบรรณ นายธานี เทือกสุบรรณ และนางกิ่งกาญจน์ เทือกสุบรรณนายสุเทพสำเร็จการศึกษา ระดับปริญญาตรี ศิลปศาสตร์บัณฑิต (รัฐศาสตร์) จาก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2515 และสำเร็จการศึกษา ระดับปริญญาโท M.A. Political Sciences จาก Middle Tennesse State University ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อปี พ.ศ. 2518 หลังจากสำเร็จการศึกษา ระดับปริญญาโทกลับมา นายสุเทพได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น กำนันตำบลท่าสะท้อน ต่อจากกำนันจรัส ผู้เป็นบิดา และชนะเลือกตั้ง ทำให้ได้เป็นกำนัน ขณะมีอายุเพียงประมาณ 26 ปี โดยมีวุฒิการศึกษาระดับ ปริญญาโทจากเมืองนอก ขณะที่ประเทศไทยในช่วงนั้น รัฐมนตรีบางกระทรวง ยังจบการศึกษา แค่ประถมศึกษาปีที่ 4ต่อมานายสุเทพตัดสินใจลงเล่นการเมืองระดับประเทศ โดยลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทำให้ตำแหน่งกำนันตำบลท่าสะท้อนว่างลง และมีน้าชายของนายสุเทพมาดำรงตำแหน่งต่อ และตามด้วย นายธานี เทือกสุบรรณ ผู้เป็นน้องชายของนายสุเทพ มาดำรงตำแหน่งต่ออีก 10 ปี จนลาออก เพื่อลงเล่นการเมืองระดับจังหวัด ในที่สุดกำนันจรัส บิดาของนายสุเทพ ได้กลับเข้าดำรงตำแหน่ง กำนันตำบลท่าสะท้อน อีกครั้งหนึ่งด้วยวัย 76 ปี โดยได้รับเลือกตั้งอย่างไร้คู่แข่งขัน กลายเป็นเจ้าของสถิติ กำนันผู้มีอายุสูงที่สุดในประเทศไทยปัจจุบันนายสุเทพ เทือกสุบรรณ สมรสกับ นางศรีสกุล พร้อมพันธ์ ซึ่งเป็นน้องสาวของนายนิพนธ์ พร้อมพันธ์ และอดีตภรรยาของนายพรเทพ เตชะไพบูลย์ มีบุตรชาย 1 คน บุตรสาว 2 คน คือ นายแทน เทือกสุบรรณ, น.ส.น้ำตาล เทือกสุบรรณ และ น.ส.น้ำทิพย์ เทือกสุบรรณ
2. ผลงานของนักวิชาการที่ปรากฏ
นายสุเทพ เข้าสู่วงการเมืองระดับประเทศ ได้เป็น ส.ส.จังหวัดสุราษฎร์ธานี สมัยแรกเมื่อปี พ.ศ. 2522 และหลังจากนั้นสามารถชนะเลือกตั้ง ได้เป็น ส.ส. อย่างต่อเนื่องถึง 10 สมัย และดำรงตำแหน่งสำคัญระดับรัฐมนตรี คือ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 2 สมัย และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมสมัยเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายสุเทพถูกพรรคฝ่ายค้านคือ พรรคชาติไทย ที่มีนายบรรหาร ศิลปอาชาเป็นหัวหน้าพรรค เปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจ กรณีเกิดการทุจริตในการแจกที่ดินทำกินแก่เกษตรกร หรือที่เรียกกันว่า สปก.4-01 โดยในครั้งนั้นพรรคชาติไทยมี นายเนวิน ชิดชอบ เป็นกำลังสำคัญนำอภิปรายใน สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งส่งผลให้ นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีต้องตัดสินใจ ยุบสภา ก่อนที่จะมีการลงมติ และจัดให้มีการ เลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2538 ซึ่งผลการเลือกตั้ง พรรคชาติไทย ได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล โดย นายบรรหาร ศิลปอาชา ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็น นายกรัฐมนตรี คนที่ 21 ของประเทศไทย ส่วนนายเนวินได้ขึ้นดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรี เป็นครั้งแรกในชีวิต ด้วยตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังแม้ว่านับตั้งแต่ถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจในปี พ.ศ. 2538 นายสุเทพ ไม่เคยถูกฟ้องร้องดำเนินคดีในชั้นศาลเกี่ยวกับกรณี สปก.4-01 แต่อย่างใด (แต่ศาลฎีกาพิพากษาสั่งให้ ทศพร เทพบุตร ออกจากที่ดินหลวงที่ยึดครองเป็นสมบัติส่วนตัวนานถึง 12 ปี) แต่ยังคงมีการนำกรณีดังกล่าว มาอ้างอิงเพื่อโจมตีทางการเมืองต่อนายสุเทพ และพรรคประชาธิปัตย์มาโดยตลอดนายสุเทพ เคยดำรงตำแหน่งเป็น รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ระหว่างปี พ.ศ. 2542-2546 ดำรงตำแหน่ง กรรมการสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ ระหว่างปี พ.ศ. 2546-2548 และดำรงตำแหน่ง เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 จนถึงปัจจุบันหลัง การเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2548 พรรคประชาธิปัตย์ ได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างผู้บริหารพรรคครั้งใหญ่ นายสุเทพได้รับเลือกเป็น เลขาธิการพรรค และพอดีกับมีบทบาทอย่างมากใน คดียุบพรรค โดยเป็นผู้รวบรวมพยานหลักฐานยื่นฟ้อง พรรคไทยรักไทย และต่อมาพรรคไทยรักไทยถูกวินิจฉัยให้ยุบพรรค โดยกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย 111 คนถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี  เที่ยวนี้รับบท มือประสานสิบทิศจับขั้วพันธมิตรจัดตั้งรัฐบาลได้สำเร็จ
3. เราชอบผู้นำทางวิชาการในประเด็นอะไร
สาเหตุที่ชอบนายสุเทพ เทือกสุบรรณนายสุเทพ เข้าสู่วงการเมืองระดับประเทศ ได้เป็น ส.ส.จังหวัดสุราษฎร์ธานี สมัยแรกเมื่อปี พ.ศ. 2522 และหลังจากนั้นสามารถชนะเลือกตั้ง ได้เป็น ส.ส. อย่างต่อเนื่องถึง 10 สมัย และดำรงตำแหน่งสำคัญระดับรัฐมนตรี คือ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 2 สมัย และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
   http://www.ryt9.com/s/refb/492229

กิจกรรมที่2

ให้นักศึกษาศึกษาทฤษฎีและหลักการบริหารจัดการ ในประเด็นนี้
1. มีหลักการอย่างไร เจ้าของทฤษฎีใครบ้าง
2. นำหลักการดังกล่าวไปใช้อย่างไร
ให้สรุปเขียนลงในกิจกรรมที่ 2 ลงในเว็บล็อกของนักศึกษา โดยสรุปจากการอ่านของนักศึกษาให้มีการอ้างอิงสิ่งที่นักศึกษานำมาใช้เขียน

ความหมายการบริหารการศึกษา
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบริหารการศึกษา
คำนิยาม "การบริหารการศึกษา"
คำว่า การบริหาร”(Administration) ใช้ในความหมายกว้าง ๆ เช่น การบริหารราชการ อีกคำหนึ่ง คือ การจัดการ” (Management) ใช้แทนกันได้
กับคำว่า การบริหาร ส่วนมากหมายถึง การจัดการทางธุรกิจมากกว่าโดยมีหลายท่านได้ ระบุดังนี้
Peter F Drucker : คือ ศิลปะในการทำงานให้บรรลุเป้าหมายร่วมกับผู้อื่น (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 2)
Herbert A. Simon :กล่าวว่า คือ กิจกรรมที่บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ร่วมมือกันดำเนินการให้บรรลุวัถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างร่วม กัน (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 2)
การบริหาร หมายถึง ศิลปะในการทำให้สิ่งต่าง ๆ ได้รับการกระทำจนเป็น ผลสำเร็จ กล่าวคือ ผู้บริหารไม่ใช้เป็นผู้ปฏิบัติ แต่เป็นผู้ใช้ศิลปะทำให้ผู้ปฏิบัติทำงานจนสำเร็จตามจุดมุ่งหมายที่ผู้บริหาร ตัดสินใจเลือกแล้ว (Simon)
การบริหาร คือ กระบวนการทำงานร่วมกับผู้อื่นเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายอย่างมี ประสิทธิภาพ (Sergiovanni)
การบริหาร คือ การทำงานของคณะบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ที่รวมปฏิบัติการให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน (Barnard
     การบริหาร หมายถึง กิจกรรมต่างๆ ที่บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปร่วมมือกันดำเนินการ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลายๆอย่างที่บุคคลร่วมกัน กำหนดโดยใช้กระบวนอย่างมีระบบและให้ทรัพยากรตลอดจนเทคนิคต่างๆ อย่างเหมาะสม (สมศักดิ์ คงเที่ยง , 2542 : 1)
ส่วนคำ ว่า การ บริหารการศึกษาหมายถึง กิจกรรมต่างๆ ที่บุคคลหลายคนร่วมกันดำเนินการ เพื่อพัฒนาสมาชิกของสังคมในทุกๆ ด้าน นับแต่ บุคลิกภาพ ความรู้ ความสามารถ เจตคติ พฤติกรรม คุณธรรม เพื่อให้มีค่านิยมตรงกันกับความต้องการของสังคม โดยกระบวนการต่างๆ ที่อาศัยควบคุมสิ่งแวดล้อมให้มีผลต่อบุคคล และอาศัยทรัพยากร ตลอดจนเทคนิคต่างๆ อย่างเหมาะสม เพื่อให้บุคคลพัฒนาไปตรงตามเป้าหมายของสังคมที่ตนดำเนินชีวิตอยู่(ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 6)
คำว่า สถานศึกษาหมายความ ว่าสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย โรงเรียน ศูนย์การศึกษาพิเศษ ศูนย์การศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย ศูนย์การเรียน วิทยาลัย วิทยาลัยชุมชน สถาบันหรือสถานศึกษาที่เรียกชื่ออย่างอื่นของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่หรือมี วัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติและตาม ประกาศกระทรวง(พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา, 2547 : 23)
การบริหารเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์
การบริหารเป็น ศาสตร์ (Science) คือ การบริหาร ที่มีการจัดการอย่างเป็นระบบ คือมีหลักเกณฑ์และทฤษฎีที่พึงเชื่อถือได้ อันเกิดจาการค้นคว้าเชิงวิทยาศาสตร์ เพื่อประโยชน์ในการบริหาร เป็นศาสตร์สังคม ซึ่งอยู่กลุ่มเดียวกับวิชาจิตวิทยา สังคมวิทยา และรัฐศาสตร์
การบริหารเป็นศิลป์ (Arts) คือ การบริหารในลักษณะของ การปฏิบัติที่ต้องอาศัยความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์และทักษะของผู้บริหารแต่ละคน ที่จะ ทำงานให้บรรลุเป้าหมาย ซึ่งเป็นการประยุกต์เอาความรู้ หลักการและทฤษฎีไปรับใช้ในการปฏิบัติงานเพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ และสิ่งแวดล้อม (ที่มา : http://www.kunkroo.com/admin1.html,)
ปัจจัย สำคัญการบริหารที่สำคัญมี 4 อย่าง ที่เรียกว่า 4Ms ได้แก่
1. คน (Man)
2 เงิน (Money)
3. วัสดุสิ่งของ(Materials)
4. การจัดการ (Management)
กระบวนการบริหารการศึกษา
จากหลักการบริหารทั่วไป 14 ข้อของ Fayol ทำให้ต่อมา Luther Gulick ได้นำมาปรับต่อยอดเป็นที่รู้จักกันดีในตัว อักษรย่อที่ว่า “POSDCoRB” กลายเป็นคัมภีร์ของการ จัดองค์การในต้นยุคของศาสตร์การบริหารซึ่งตัวย่อแต่ละตัวมีความหมายดังนี้
P – Planning หมายถึง การวางแผน
O – Organizing หมาย ถึง การจัดองค์การ
S – Staffing หมายถึง การจัดคนเข้าทำงาน
D – Directing หมาย ถึง การสั่งการ
Co – Coordinating หมาย ถึง ความร่วมมือ
R – Reporting หมาย ถึง การรายงาน
B – Budgeting หมาย ถึง งบประมาณความหมายของทฤษฎีและทฤษฎีทางการ บริหารการศึกษา
          ทฤษฎี หมายถึง แนวความคิดหรือความเชื่อที่เกิดขึ้นอย่างมีหลักเกณฑ์มีการทดสอบและการสังเกต จนเป็นที่แน่ใจ ทฤษฎีเป็น เซท(Set) ของมโนทัศน์ที่ เชื่อมโยงซึ่งกันและกัน เป็นข้อสรุปอย่างกว้างที่พรรณนาและอธิบายพฤติกรรมการบริหารองค์กรการทางศึกษา อย่างเป็นระบบ ถ้าทฤษฎีได้รับการพิสูจน์บ่อย ๆ ก็จะกลายเป็นกฎเกณฑ์ ทฤษฎีเป็นแนวความคิดที่มีเหตุผลและสามารถนำไปประยุกต์ และปฏิบัติได้ ทฤษฎีมีบทบาทในการให้คำอธิบายเกี่ยวกับปรากฎทั่วไปและชี้แนะการวิจัย
ทฤษฎีทางการบริหารและวิวัฒนาการการบริหารการศึกษา ระยะที่ 1 ระหว่าง ค.ศ. 1887 – 1945 (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 10) ยุคนักทฤษฎี
การบริหารสมัยดั้งเดิม (The Classical organization theory) แบ่งย่อยเป็น 3 กลุ่มดังนี้
1.กลุ่มการจัดการเชิง วิทยาศาสตร์ของเทย์เลอร์(Scientific Management)ของเฟรดเดอริก เทย์เลอร์ (Frederick Taylor) ความ มุ่งหมายสูงสุดของแนวคิดเชิงวิทยาศาสตร์คือ จัดการบริหารธุรกิจหรือโรงงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด Taylor มองคนงานแต่ละคนเปรียบเสมือนเครื่องจักรที่สามารถปรับปรุง เพื่อเพิ่มผลผลิตขององค์การได้ เจ้าของตำรับ “The one best way” คือประสิทธิภาพของการทำงานสูงสุดจะเกิดขึ้นได้ต้อง ขึ้นอยู่กับสิ่งสำคัญ 3 อย่างคือ
1.1 เลือกคนที่ มีความสามารถสูงสุด (Selection)
1.2 ฝึกอบบรมคนงานให้ถูกวิธี (Training)
1.3 หาสิ่งจูง ใจให้เกิดกำลังใจในการทำงาน (Motivation)
เทย์เลอร์ ก็คือผลผลิตของยุคอุตสาหกรรมในงานวิจัยเรื่อง “Time and Motion Studies” เวลาและการเคลื่อนไหว เชื่อว่ามีวิธีการการทางวิทยาศาสตร์ที่จะบรรลุวัตถุประสงค์เพียงวิธีเดียว ที่ดีที่สุด เขาเชื่อในวิธีแบ่งงานกันทำ ผู้ปฏิบัติระดับล่างต้องรับผิดชอบต่อระดับบน เทย์เลอร์ เสนอ ระบบการจ้างงาน(จ่ายเงิน)บนพื้นฐานการสร้างแรงจูงใจ สรุปหลักวิทยาศาสตร์ของเทยเลอร์สรุปง่ายๆประกอบด้วย 3 หลักการดังนี้
1. การแบ่งงาน (Division of Labors)
2. การควบคุม ดูแลบังคับบัญชาตามสายงาน (Hierarchy)
3. การจ่าย ค่าจ้างเพื่อสร้างแรงจูงใจ (Incentive payment)
2. กลุ่มการบริหารจัดการ(Administration Management) หรือ ทฤษฎีบริหารองค์การอย่างเป็นทางการ(Formal Organization Theory ) ของ อังรีฟาโยล (Henri Fayol) บิดาของทฤษฎีการปฏิบัติการและการจัดการตามหลักบริหาร ทั้ง Fayol และ Taylorจะเน้นตัวบุคลปฏิบัติงาน + วิธีการทำงาน ได้ประสิทธิภาพและประสิทธิผลแต่ก็ไม่มองด้าน จิตวิทยา” (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 17)Fayol ได้เสนอแนวคิดในเรื่องหลักเกี่ยวกับการบริหารทั่วไป 14 ประการ แต่ลักษณะที่สำคัญ มีดังนี้
2.1 หลักการทำ งานเฉพาะทาง (Specialization) คือการแบ่งงานให้เกิด ความชำนาญเฉพาะทาง
2.2 หลักสายบังคับบัญชา เริ่มจากบังคับบัญชาสูงสุดสู่ระดับต่ำสุด
2.3 หลักเอกภาพ ของบังคับบัญชา (Unity of Command)
2.4 หลักขอบ ข่ายของการควบคุมดูแล (Span of control) ผู้ดูแล หนึ่งคนต่อ 6 คนที่จะอยู่ใต้การดูแลจึงจะเหมาะสมและ มีประสิทธิภาพที่สุด
2.5 การสื่อสารแนวดิ่ง (Vertical Communication) การสื่อสารโดยตรงจากเบื้องบนสู่เบื้องล่าง
2.6 หลักการแบ่งระดับการบังคับบัญชาให้น้อยที่สุด คือ ไม่ควรมีสายบังคับบัญชายืดยาว หลายระดับมากเกินไป
2.7 หลักการแบ่งความรับผิดชอบระหว่างสายบังคับบัญชาและสายเสนาธิการ (Line and Staff Division)
3. ทฤษฎีบริหารองค์การในระบบราชการ(Bureaucracy) มาจากแนวคิดของ แมกซ์ เวเบอร์ (Max Weber) ที่กล่าวถึงหลักการบริหารราชการประกอบด้วย
3.1 หลักของฐาน อำนาจจากกฎหมาย
3.2 การแบ่ง หน้าที่และความรับผิดชอบ ที่ต้องยึดระเบียบกฎเกณฑ์
3.3 การแบ่งงาน ตามความชำนาญการเฉพาะทาง
3.4 การแบ่งงาน ไม่เกี่ยวกับผลประโยชน์ส่วนตัว
3.5 มีระบบความ มั่นคงในอาชีพ
จะ อย่างไรก็ตามระบบราชการก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ซึ่งในด้าน ข้อเสีย คือ สายบังคับบัญชายืดยาวการทำงานต้องอ้างอิงกฎระเบียบ จึงชักช้าไม่ทันการแก้ไขปัญหาในปัจจุบัน เรียกว่า ระบบ “Red tape” ในด้านข้อดี คือ ยึดประโยชน์สาธารณะเป็นหลัก การบังคับบัญชา การเลื่อนขั้นตำแหน่งที่มีระบบระเบียบ แต่ในปัจจุบันระบบราชการกำลังถูกแทรกแซงทางการเมืองและทางเศรษฐกิจ ทำให้เริ่มมีปัญหาระยะที่ 2 ระหว่าง ค.ศ. 1945 – 1958 (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 10) ยุคทฤษฎีมนุษยสัมพันธ์ (Human Relation ) Follette ได้นำเอาจิตวิทยามาใช้และได้เสนอ
การแก้ปัญหาความขัด แย้ง(Conflict) ไว้ 3 แนว ทางดังนี้
1. Domination คือ ใช้อำนาจอีกฝ่ายสยบลง คือให้อีกฝ่ายแพ้ให้ได้ ไม่ดีนัก
2. Compromise คือ คนละครึ่งทาง เพื่อให้เหตุการณ์สงบโดยประนีประนอม
3. Integration คือ การหาแนวทางที่ไม่มีใครเสียหน้า ได้ประโยชน์ทั้ง 2 ทาง (ชนะ ชนะ) นอกจากนี้ Follette ให้ทัศนะน่าฟังว่า การเกิดความขัดแย้งในหน่วยงานเป็นความพกพร่องของการบริ หาร” (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 25)
การวิจัยหรือการทดลอง ฮอร์ทอร์น(Hawthon Experiment) ที่ เมโย(Mayo) กับคณะทำการวิจัยเริ่มที่ข้อสมมติฐานว่าสิ่งแวดล้อมมีผล ต่อประสิทธิภาพการทำงานของคนงาน มีการค้นพบจากการทดลองคือมีการสร้างกลุ่มแบบไม่เป็นทางการในองค์การ ทำให้เกิดแนวความคิดใหม่ที่ว่า ความสัมพันธ์ของมนุษย์ มีความสำคัญมาก ซึ่งผลการศึกษาทดลองของเมโยและคณะ พอสรุปได้ดังนี้
1. คนเป็นสิ่งมีชีวิต จิตใจ ขวัญ กำลังใจ และความพึงพอใจเป็นเรื่องสำคัญในการทำงาน
2. เงินไม่ใช่ สิ่งล่อใจที่สำคัญแต่เพียงอย่างเดียว รางวัลทางจิตใจมีผลต่อการจูงใจในการทำงานไม่น้อยกว่าเงิน
3. การทำงาน ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมทางสังคมมากกว่าสภาพแวดล้อมทางกายภาพคับที่อยู่ได้ คับใจอยู่อยาก
ข้อคิดที่สำคัญ การตอบสนองคน ด้านความต้องการศักดิ์ศรี การยกย่อง จะส่งผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานจากแนวคิด มนุษยสัมพันธ์”*ระยะที่ 3 ตั้งแต่ ค.ศ. 1958 – ปัจจุบัน (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 11) ยุคการ ใช้ทฤษฎีการบริหาร(Administrative Theory)หรือการ ศึกษาเชิงพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral Science Approach) ยึดหลักระบบงาน + ความสัมพันธ์ของคน + พฤติกรรมขององค์การ ซึ่งมีแนวคิด หลักการ ทฤษฎีที่หลายๆคนได้แสดงไว้ดังต่อไปนี้
1.เชส เตอร์ ไอ บาร์นาร์ด (Chester I Barnard ) เขียน หนังสือชื่อ The Function of The Executive ที่ กล่าวถึงงานในหน้าที่ของผู้บริหารโดยให้ความสำคัญต่อบุคคลระบบของความร่วม มือองค์การ และเป้าหมายขององค์การ กับความต้องการของบุคคลในองค์การต้องสมดุลกัน
2.ทฤษฎีของมาสโลว์ ว่าด้วยการจัดอันดับขั้นของความต้องการของมนุษย์ (Maslow – Hierarchy of needs) เป็นเรื่องแรงจูงใจแบ่งความต้องการของ มนุษย์ตั้งแต่ความต้องการด้านกายภาพ ความต้องการด้านความปลอดภัยความต้องการด้านสังคม ความต้องการด้านการเคารพ นับถือ และประการสุดท้าย คือ การบรรลุศักยภาพของตนเอง (Self actualization) คือมีโอกาสได้พัฒนาตนเองถึงขั้นสูงสุดจาก การทำงาน แต่ความต้องการเหล่านั้นต้องได้รับการสนองตอบตามลำดับขั้น
มาสโลว์ เป็นผู้วางรากฐานจิตวิทยามนุษยนิยม เขาได้พัฒนาทฤษฎีแรงจูงใจ ซึ่งมีอิทธิพลต่อระบบการศึกษาของอเมริกันเป็นอันมาก ทฤษฎีของเขามีพื้นฐานอยู่บนความคิดที่ว่า การตอบสนองแรงขับเป็นหลักการเพียงอันเดียวที่มีความสำคัญที่สุดซึ่งอยู่ เบื้องหลังพฤติกรรมของมนุษย์ เขามีความเชื่อว่า มนุษย์มีแนวโน้มที่จะมีความต้องการอันใหม่ที่สูงขึ้น แรงจูงใจของคนเรามาจากความต้องการ พฤติกรรมของคนเรามุ่งไปสู่การตอบสนองความพอใจ มาสโลว์ แบ่งความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ออกเป็น 5 ระดับด้วยกัน ได้แก่
1.ความต้อง การทางกายภาพ (Physiological Needs) หมายถึงความ ต้องการพื้นฐานของร่างกายซึ่งจำเป็นในการดำรงชีวิต ได้แก่ความต้องการอาหาร น้ำ อากาศ เสื้อผ้า
2.ความต้อง การความปลอดภัย (Safety Needs) หมายถึง ความต้องการมั่นคงปลอดภัยทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ
3. ความต้อง การทางสังคม (Social Needs) หมายถึง ความต้องการที่จะเป็นที่รักของผู้อื่น และต้องการมีสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลอื่น
4.ความต้อง การยกย่องชื่อเสียง (Esteem Needs) หมายถึง ความปรารถนาที่จะมองตนเองว่ามีคุณค่าสูง เป็นที่น่าเคารพยกย่องจากทั้งตนเองและผู้อื่น ต้องการที่จะให้ผู้อื่นเห็นตนมีความสามารถ มีคุณค่า มีเกียรติ มีตำแหน่งฐานะ บุคคลที่มีความต้องการประเภทนี้จะเป็นผู้ที่มีความมั่นใจในตนเอง
5.ความต้อง การที่จะรู้จักตนเองตามสภาพที่แท้จริงและความสำเร็จของชีวิต(Self–ActualizationNeeds)หมายถึง ความต้องการที่จะรู้จักและเข้าใจตนเองตามสภาพที่แท้จริงเพื่อพัฒนาชีวิตของ ตนเองให้สมบูรณ์(Self-fulfillment) รู้จักค่านิยม มา สโลว์ตั้งสมมุติฐานเกี่ยวกับความต้องการมนุษย์ไว้ดังนี้
1. มนุษย์มีความต้องการอยู่เสมอ
2. ความต้องการที่ได้รับการตอบสนองแล้วจะไม่เป็นสิ่งจูงใจ ของพฤติกรรมนั้น ๆ อีกต่อไป
3. ความต้องการของมนุษย์จะเรียงกันเป็นลำดับขั้น ตามความสำคัญ

3.ทฤษฎี X ทฤษฎี Y ของ แมคกรีกอร์(Douglas MC Gregor Theory X,Theory Y ) เขาได้เสนอแนวคิดการ บริหารอยู่บนพื้นฐานของข้อสมมติฐานเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ต่างกัน ทฤษฎี X(The Traditional View of Direction and Control) ทฤษฎี นี้เกิดข้อสมติฐานดังนี้
1. คนไม่อยากทำงาน และหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบ
2. คนไม่ทะเยอ ทะยาน และไม่คิดริเริ่ม ชอบให้การสั่ง
3. คนเห็นแก่ตน เองมากกว่าองค์การ
4. คนมักต่อ ต้านการเปลี่ยนแปลง
5. คนมักโง่ และหลอกง่าย
ผลการมองธรรมชาติของมนุษย์เช่นนี้ การบริหารจัดการจึงเน้นการใช้เงิน วัตถุ เป็นเครื่องล่อใจ เน้นการควบคุม การสั่งการ เป็นต้น
ทฤษฎี Y(The integration of Individual and Organization Goal) ทฤษฎี ข้อนี้เกิดจากข้อสมติฐานดังนี้
1. คนจะให้ความ ร่วมมือ สนับสนุน รับผิดชอบ ขยัน
2. คนไม่เกียจ คร้านและไว้วางใจได้
3. คนมีความคิดริเริ่มทำงานถ้าได้รับการจูงใจอย่างถูกต้อง
4. คนมักจะ พัฒนาวิธีการทำงาน และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ
ผู้บังคับบัญชาจะไม่ ควบคุมผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างเข้มงวด แต่จะส่งเสริมให้รู้จักควบคุมตนเองหรือของกลุ่มมากขึ้น ต้องให้เกียรติซึ่งกันและกันจากความเชื่อที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดระบบการบริหารที่แตกต่างกันระหว่างระบบที่เน้นการควบคุมกับระบบที่ ค่อนข้างให้อิสระภาพ
4.อูชิ (Ouchi ) ชาวญี่ปุ่นได้เสนอ ทฤษฎี Z (Z Theory) (William G. Ouchi) ศาสตราจารย์ แห่งมหาวิทยาลัย UXLA (I of California Los Angeles) ทฤษฎีนี้รวมเอาหลักการของทฤษฎี X , Y เข้า ด้วยกัน แนวความคิดก็คือ องค์การต้องมีหลักเกณฑ์ที่ควบคุมมนุษย์ แต่มนุษย์ก็รักความเป็นอิสระ และมีความต้องการหน้าที่ของผู้บริหารจึงต้องปรับเป้าหมายขององค์การให้สอด คล้องกับเป้าหมายของบุคคลในองค์การ
สรุปเพื่อออมชอมสองทฤษฎี มีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ประการคือ
1. การทำให้ ปรัชญาที่กำหนดไว้บรรลุ
2. การพัฒนาผู้ ใต้บังคับบัญชาให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
3. การให้ความ ไว้วางใจแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา
4. การให้ผู้ ใต้บังคับบัญชามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
อ้างอิง
ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, และวิบูลย์ โตวณะบุตร. (2542). หลัก และทฤษฎีการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ศิริพงษ์ เศาภายน, (2548). หลักการ บริหารการศึกษา : ทฤษฎีและแนวปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : บุ๊ค พอยท์.
สมศักดิ์ คงเที่ยง, (ม.ป.ป.) หลักและทฤษฎีการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ : มิตรภาพ การพิมพ์และสติวดิโอ