วันอาทิตย์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่13

คำถามที่ผมอยากให้ทุกคนร่วมกันคิด โดยเฉพาะผู้จะเป็นครู คือ
1) ในปัจจุบัน เด็กไทย (รวมถึงผู้ใหญ่ไทย) มีสุขนิสัยที่ดี ในเรื่องพฤติกรรมการบริโภค พฤติกรรมสุขภาพ ที่เหมาะสมหรือไม่ เพียงใด
ไม่เหมาะสม เพราะว่า เด็กไทยเรามักจะมีปัญหาโภชนาการ (อาหาร) แบบไม่สมดุล คือ บางอย่างมากไป บางอย่างน้อยไปอาหารกลุ่มที่ "มากไป" มักจะเป็นกลุ่มให้กำลังงาน (คาร์โบ ไฮเดรตหรือแป้ง-น้ำตาล ไขมัน และโปรตีน) อาหารกลุ่มที่ "น้อยไป" มักจะเป็นกลุ่มผัก ผลไม้ทั้งผล (ไม่ใช่น้ำผลไม้) และแร่ธาตุ โดยเฉพาะแคลเซียม กรมอนามัยจัดทำคำแนะนำง่ายๆ สำหรับเด็กไทย โดยการแบ่งอาหารเป็นหมวดหมู่ง่ายๆ อ่าน แล้วนำไปใช้ได้เลย ผู้ใหญ่ที่ออกแรง-ออกกำลังมากหน่อยก็นำคำแนะนำนี้ไปใช้ได้ แต่ถ้าออกแรง-ออกกำลังน้อย... ควรกินอาหารกลุ่ม "ข้าว-แป้ง" ให้น้อยลงหน่อย
และ ที่สำคัญก็คือเด็กไทยส่วนใหญ่ไม่รับประทานอาหารเช้าทั้งที่อาหารเช้าเป็น มื้อที่สำคัญที่สุดเมื้อหนึ่งโดยอาหารเช้าเป็นการ เติมพลังงานแห่งการเริ่มต้นวันใหม่ อาหารเช้าจึงเป็นมื้อสำคัญที่สุด เมื่อตื่นนอนในตอนเช้าระดับน้ำตาลในเลือดจะต่ำ ทำให้ไม่มีพลังงานไปเลี้ยงสมอง การละเลยอาหารเช้าจะทำให้หงุดหงิดอารมณ์เสีย เครียด อ่อนเพลีย ไม่มีสมาธิ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัยเด็กไม่ควรละเลยอาหารเช้า เพราะจะทำให้มีผลต่อการเรียนรู้และความจำ โดยอาหารเช้าที่เหมาะสมควรมีพลังงานและสารอาหารอย่างน้อย 1 ใน 4 ของปริมาณที่ควรได้รับตลอดวัน

2) ใน ปัจจุบันเด็กไทย (รวมถึงผู้ใหญ่ไทย) มีกีฬาประจำตัว มีปฏิทินการออกกำลังกาย และได้ออกกำลังกายตามปฏิทินอย่างจริงจัง มากน้อยเพียงใด (ทุกครั้งที่ไปโรงพยาบาล แพทย์ไทย มักจะถาม คำถามว่า “มีโรคประจำตัวอะไรบ้าง” แต่ไม่เคยถามว่า “หนู มีกีฬาประจำตัวหรือไม่ มีปฏิทินออก กำลังกายไหม)
น้อย มากเพราะว่า ในปัจจุบันนั้นการออกกำลังกายของเด็กไทยนั้นค่อนข้างจะน้อยมาก มีบางส่วนที่ได้ออกกำลังกายบ้างในตอนเย็น เช่น การแตะฟุตบอลกับเพื่อนๆ เล่นแบกบินตัน ว่ายน้ำ เต้น แอรอบิ นั้นก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่เกิดขึ้น
3) เด็ก ไทยมีความสามารถในการบริหารสุขภาพจิต การควบคุมอารมณ์ หรือการพัฒนาบุคลิกภาพหรือไม่ เพียงใด(ดูได้จากบรรยากาศการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ในทันทีที่มีการประกาศผลการแข่งขัน จะมี 1 ทีมที่ร้องให้ ควบคุมอารมณ์ไม่ได้)
เด็กแต่ละคนควบคุมตนเองได้ดีไม่เท่ากันอาจเป็นเพราะพฤติกรรมการเรียนรู้ในวัยเด็กและสิ่งแวดล้อมภายในครอบครัว การ เลี้ยงดูที่เหมาะสมสามารถช่วยกล่อมเกลาและการควบคุมอารมณ์ด้านลบของเด็กได้ พร้อมกับส่งเสริมอารมณ์ด้านบวกให้โดดเด่นยิ่งขึ้น แต่หากเด็กที่มีพื้นฐานของอารมณ์ไม่ดีแล้วไม่ได้รับการเลี้ยงดูอย่างเข้าใจ ก็จะยิ่งกระตุ้นให้อารมณ์ที่ไม่ดีเหล่านั้นกลายเป็นนิสัยถาวร ไร้การควบคุม ส่วนเด็กที่เติบโตขึ้นมาในครอบครัวที่พ่อแม่ทะเลาะกันอยู่เสมอจะกลายเป็น เด็กอารมณ์ร้ายและมีอีคิวต่ำ นอกจากนี้วิธีการเลี้ยงดูเด็กก็มีส่วนสำคัญอย่างมากต่อพัฒนาการทางอารมณ์ของเด็ก
4) ขณะ นี้โรงเรียนได้ให้ความสำคัญในเรื่องสุขภาพกายและสุขภาพจิตของเด็ก พอ ๆ กับ การส่งเสริมด้านวิชาการหรือไม่ โดยเฉพาะในโรงเรียนที่ได้รับค่านิยมสูง (มีชื่อเสียง)
มีการส่งเสริม จะเห็นจากโรงเรียนที่มีชื่อเสียงก็จะมีกิจกรรมให้นักเรียนได้เล่นและได้ส่งเสริมให้นักเรียนมีสุขภาพที่แข็งแรง เป็นการส่งเสริมให้เด็กเก่งวิชาการควบคู่กับมีสุขภาวะที่แข็งแรง
5.) เมื่อเปิดภาคเรียนภายใน ๒ สัปดาห์แรก ครูประจำชั้นได้ทำความรู้จักกับนักเรียนมากน้อยเพียงใดมีการจำแนกเด็กนัก เรียนเป็นกลุ่มเสี่ยง-กลุ่มปกติหรือไม่ (กลุ่มเสี่ยงหมายถึงผลการเรียนอ่อนสุขภาพไม่ดีมีปัญหาทางครอบครัวรวมถึงมีผลการเรียนดีมากเกรดเฉลี่ย๔.๐๐มาโดยตลอดซึ่งจะเสี่ยงในเรื่องความเครียด)
ครูประจำชั้นส่วนใหญ่เวลาเปิดภาคเรียนก็จะถามประวัติเด็กก่อน จะ ถามชื่อที่อยู่แต่ไม่ค่อยจะถามเรื่องสุขภาพของเด็กและเรื่องการเรียนของเด็ก ว่าเด็กมีผลการเรียนที่ผ่านมาเป็นเช่นไรเด็กมีปัญหาทางบ้านไหม?นี้คือสิ่งสำคัญที่ครูในอนาคตต้องทำความเข้าใจกับเด็กให้มากควรจะดูแลเอาใจใส่เด็กให้มากกว่านี้และเข้าหานักเรียน เด็กจะได้รู้สึกผูกพันกับครูมากขึ้นและมีความสุขในการเรียน
6) ครูประจาชั้น หรือโรงเรียนได้จัดระบบดูแล-ช่วยเหลือเด็กกลุ่มเสี่ยงอย่างไรบ้าง เพื่อลดความเสี่ยงในชีวิต (สมัยที่ผมเป็นครูประจำชั้น ผมจะประกาศรายชื่อ “ผู้ช่วยอาจารย์ประจำชั้น” โดยเลือกจากนักเรียนกลุ่มเสี่ยง เพื่อให้นักเรียนเหล่านี้มีโอกาสทำงานใกล้ชิดกับครู มีการประชุมร่วมกันสัปดาห์ละ 1 ครั้ง)
จะเรียกนักเรียนที่เป็นเด็กกลุ่มเสี่ยงมารวมตัว แล้วประชุมพร้อมกันว่า จะทำอย่างไรให้เด็กๆ มีการเรียนที่ดีขึ้น โดยให้เด็กออกความคิดเห็นเอง เพื่อใช้เป็นแนวให้กับตนและเพื่อนๆ
7) โรงเรียนมีการพัฒนารายวิชา (วิชาเลือก/วิชาเพิ่มเติม) ที่เกี่ยวข้องกับ การควบคุมอารมณ์ การพัฒนาบุคลิกภาพ การบริหารจัดการกับปัญหาสุขภาพจิต ฯลฯ หรือไม่ (หลักสูตรประเทศสิงค์โปร์ เด็กอนุบาล ต้องเรียนวิชา “การควบคุมอารมณ์”)
มี แต่ยังไม่ครอบคลุมพอ เนื่องจากหลักสูตรในประเทศไทย ยังเน้นเนื้อหาที่เกี่ยวเนื่องหรือเกี่ยวข้องกับรายวิชาที่เรียน
8) โรงเรียนมีการประเมินมาตรฐานด้าน สุขภาพกาย และสุขภาพจิต เป็นระยะ ๆ อย่างจริงจังมากน้อยเพียงใด
น้อยมาก ส่วนใหญ่จะเน้นการเรียน การสอนมากกว่า
9) โรงเรียนมีแบบประเมิน/แบบสังเกตภาวะสุขภาพกาย สุขภาพจิตของนักเรียน เพื่อครูประจำชั้น และ พ่อแม่ใช้ในการสังเกต-ประเมินนักเรียนในความรับผิดชอบ หรือบุตรหลานของตนเอง หรือไม่ฯลฯ
สังเกต ครู พ่อ แม่ จะทราบถึงพัฒนาการที่ดีขึ้น หรือแย่ลงของนักเรียนหรือลูกหลานของตน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น