วันอาทิตย์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่14

ให้นักศึกษาศึกษา Power point แล้วตอบคำถาม
การจัดการเรียนการสอนที่ท้าทายโดยใช้เครื่องมือ Mind mapping สอนอย่างไร? ดีอย่างไร?
ยกตัวอย่างประกอบ วิธีการสอนโดยใช้เครื่องมือหมวก 6ใบกับโครงงานแตกต่างกันอย่างไร?
การเขียนแผนผังความคิด หรือแผนที่ความคิด(Mind Map)
(เพื่อเสริมสร้างทักษะในการวิเคราะห์ และการสังเคราะห์ข้อมูล อันเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ จัดระเบียบความคิด จำได้ทนนานนัก)
Mind Map คือ การถ่ายทอดความคิด หรือข้อมูลต่าง ๆ ที่มีอยู่ในสมองลงกระดาษ โดยการใช้ภาพ สี เส้น และการโยงใย แทนการจดย่อแบบเดิมที่เป็นบรรทัด ๆ เรียงจากบนลงล่าง ขณะเดียวกันมันก็ช่วยเป็นสื่อนำข้อมูลจากภายนอก เช่น หนังสือ คำบรรยาย การประชุม ส่งเข้าสมองให้เก็บรักษาไว้ได้ดีกว่าเดิม ซ้ำยังช่วยให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ได้ง่ายเข้า เนื่องจะเห็นเป็นภาพรวม และเปิดโอกาสให้สมองให้เชื่อมโยงต่อข้อมูลหรือ ความคิดต่าง ๆ เข้าหากันได้ง่ายกว่า
“ใช้แสดงการเชื่อมโยงข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งระหว่างความคิดหลัก ความคิดรอง และความคิดย่อยที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน” ผังความคิด (Mind Map)
วิธีการเขียน Mind Map โดยละเอียด
1. เตรียมกระดาษเปล่าที่ไม่มีเส้นบรรทัดและวางกระดาษภาพแนวนอน
2. วาดภาพสีหรือเขียนคำหรือข้อความที่สื่อหรือแสดงถึงเรื่องจะทำ Mind Map กลาง หน้ากระดาษ โดยใช้สีอย่างน้อย 3 สี และต้องไม่ตีกรอบด้วยรูปทรงเรขาคณิต
3. คิดถึงหัวเรื่องสำคัญที่เป็นส่วนประกอบของเรื่องที่ทำ Mind Map โดยให้เขียนเป็นคำ ที่มีลักษณะเป็นหน่วย หรือเป็นคำสำคัญ (Key Word) สั้น ๆ ที่มีความหมาย บนเส้น ซึ่งเส้นแต่ละเส้นจะต้องแตกออกมาจากศูนย์กลางไม่ควรเกิน 8 กิ่ง
4. แตกความคิดของหัวเรื่องสำคัญแต่ละเรื่องในข้อ 3 ออกเป็นกิ่ง ๆ หลายกิ่ง โดยเขียนคำหรือวลีบนเส้นที่แตกออกไป ลักษณะของกิ่งควรเอนไม่เกิน 60 องศา
5. แตกความคิดรองลงไปที่เป็นส่วนประกอบของแต่ละกิ่ง ในข้อ 4 โดยเขียนคำหรือวลีเส้นที่แตกออกไป ซึ่งสามารถแตกความคิดออกไปเรื่อยๆ
6. การเขียนคำ ควรเขียนด้วยคำที่เป็นคำสำคัญ (Key Word) หรือคำหลัก หรือเป็นวลีที่มีความหมายชัดเจน
7. คำ วลี สัญลักษณ์ หรือรูปภาพใดที่ต้องการเน้น อาจใช้วิธีการทำให้เด่น เช่น การล้อมกรอบ หรือใส่กล่อง เป็นต้น
8. ตกแต่ง Mind Map ที่เขียนด้วยความสนุกสนานทั้งภาพและแนวคิดที่เชื่อมโยงต่อกัน

การนำไปใช้
1. ใช้ระดมพลังสมอง
2. ใช้นำเสนอข้อมูล
3. ใช้จัดระบบความคิดและช่วยความจำ
4. ใช้วิเคราะห์เนื้อหาหรืองานต่าง ๆ
5. ใช้สรุปหรือสร้างองค์ความรู้

การคิดแบบหมวก 6ใบ
จะ เห็นว่า คนส่วนใหญ่นั้น มักจะเอาข้อเท็จจริง อารมณ์ หรือเหตุผลส่วนตัว มาปะปนกันในการถกเถียงเพื่อหวังเป็นผู้ชนะ ซึ่งวิธีการคิด การหาเหตุผลดังกล่าวข้างต้นเป็นวิธีที่ผิดและเสียเวลา ดังนั้นในช่วงต้นศตวรรษที่ 1970 เขาจึงเสนอวิธีคิดแบบ การคิดแบบหมวก 6 ใบขึ้น โดยแยกกรอบความคิดออกเป็นด้านๆ อย่างชัดเจน จากนั้นจึงวิเคราะห์หา เหตุผลภายในกรอบความคิดนั้นๆ อันจะช่วยพิจารณาสิ่งต่างๆ ได้ครอบคลุม และมีคุณภาพมากขึ้น แทนที่จะคิดทุกด้านในเวลาเดียวกัน ซึ่งมักก่อให้เกิดความสับสน
- หมวกสีขาวนี้จะให้เราคิดถึงข้อมูลเท่านั้น เป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ล้วนๆ
หาก คิดโดยใช้หมวกสีขาวก็จะเข้าใจเพียงแค่ อาจารย์สอนหนังสือในห้องและมีนักเรียนคุยกันเท่านั้น
หมวกสีแดง - หมวกสีแดงนั้นตรงกันข้ามกับสีขาว คือไม่สนใจ ข้อมูล แต่จะเน้นด้านอารมณ์และความรู้สึกเท่านั้น
เมื่อ ใช้หมวกสีแดงในการมองสถารณ์การณ์ข้างต้น เราจะมองได้ว่า อาจารย์โมโห เพราะรู้สึกว่าเด็กกำลังคุกคามและไม่ให้เกียรติในการสอน นักเรียนก็หงุดหงิดเพราะเพื่อนคุยแข่ง เรียนไม่รู้เรื่อง เพราะเพื่อนคุยแข่งกับอาจารย์
หมวกสีดำ - หมวกดำจะเน้น คิดโดยโจมตีจุดอ่อน หรือข้อเสีย ในเรื่องนั้น ผู้คิดตั้งข้อสงสัยกับสิ่งที่เกิดขึ้น ประโยชน์ของหมวกดำจะทำให้เราเข้าใจจุดอ่อนของสิ่งๆนั้น(หรือตนเอง) เพื่อ มองเห็นปัญหาได้
ในชั้นเรียนที่มีเด็กคุยแข่งกับอาจารย์นั้น เมื่อมองผ่านหมวกสีดำ เราจะเห็นว่า ชั้นเรียนนั้นเราไม่ได้อะไรเลย เสียเวลา
หมวกสีเหลือง - จะมองไปในด้านดีของสิ่งที่เราจะคิด พยายามหาสิ่งดีๆในสิ่งที่เกิดขึ้น ถึงจะต้องขุดกันก็เถอะ
หากเรามองแบบหมวกสีเหลือง การที่เด็กคุยกันก็เหมือนกับการแบ่งโอกาสในการพูดอย่างเสมอภาค เด็กก็มีสิทธิจะคุยได้ด้วย หรือไม่ก็เด็กคุยกันก็แสดงว่ามีเรื่องที่น่าจะสนุกสนาน บรรยากาศในห้องก็ไม่ตรึงเครียด นักเรียนที่คุยน่าจะเป็นคนมีอัธยาศัยดี
หมวกสีเขียว - คือความคิดที่สร้างสรรค์ นำมาซึ่งทางเลือกใหม่และวิธีแก้ปัญหาใหม่ เราต้องไม่ตัดสิน แต่ต้องตั้งข้อเสนอแนะความคิด ไอเดีย หรือมุมมองใหม่ๆขึ้นมา
ในเหตุการณ์ที่นักเรียนคุยกัน ครูอาจจะมองเห็นจุดอ่อนของตัวเอง แล้วกลับไปตีโจทย์ว่าทำไมเด็กไม่ตั้งใจเรียนแล้วหาวิธีการสอนใหม่ๆ หรือ อาจารย์อาจจะถือโอกาสพุดคุยกับเด็กบ้าง ถือโอกาสสร้างสัมพันธ์ให้เกิดขึ้น
หมวกสีฟ้า - เป็น หมวกคิดของการวางแผน การจัดลำดับขั้นตอน หมวกสีฟ้าจะเป็นเหมือนประธานของที่ประชุมเป็นผู้บอกว่า เมื่อไรควรสวม หมวกสีใดหรือเปลี่ยนสวมหมวกสีใด
การ คิดแบบหมวกสีฟ้าอาจครอบคลุม ประเด็นต่างๆ อาทิ ถึงตอนนี้เรากำลังคิดแบบใดอยู่ และคืบหน้าไปถึงไหนแล้ว อะไรคือข้อสรุปที่ได้จากการทบทวนหลายรูปแบบ (หลายหมวกความคิด) และมีข้อน่าสังเกตหรือข้อท้วงติงใดบ้าง (เช่น กำลังหลงประเด็นอยู่หรือไม่ หรือใช้ความคิดแบบหมวกสีแดง มากไปหรือไม่)
สรุปได้ว่าการเรียนแบบหมวก 6 ใบ หรือการเรียนแบบโครงงานก็ล้วนมีความสำคัญกันทั้งสองอย่างแต่อาจจะมีแนวความคิดที่แตกต่างกัน โดยหมวก 6 ใบจะสอนแบบหลากหลายความคิด ส่วนโครงงานสอนให้เด็กคิดแบบประสบการณ์ สามารถนำไปประยุกต์ไปใช้กับตัวเราเองได้ในการออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น